วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบ Cloud Computing

Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing
รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย
ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

เทคโนโลยี DLNA

  • เทคโนโลยี DLNA คืออะไร?

คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพก็คือ การ ทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ภายในบ้านสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ โดยสามารถเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูปหรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สมารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยาก (คุ้นๆ ไหมครับกับกรณีนี้)
โดยเทคโยโลนีนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากเริ่มมีพันธมิตรเข้าร่วมมากมาย เช่น ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.